แตงโมหวานขึ้นชื่อ เลื่องลือลิงป่า ไทญ้อทรงคุณค่า ยางพาราเขียวขจี ข้าวปลามากมี ถิ่นนี้คือนาคำ

Nakam Subdistrict Municipality.

โทรศัพท์ : (สำนักปลัด) 042-190234 (กองคลัง) : 042-190285

บ้านนาคำ


ผู้เขียน: administrator admin , วันที่: 6 ก.พ. 2567
92, หมวดหมู่:ข้อมูลหมู่บ้าน

ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลบุคลากร

แผนพัฒนาท้องถิ่น

แผน ปปท./ควบคุมภายใน/ตรวจสอบภายใน

งานกิจการสภา

การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ

 

ประวัติของหมู่บ้านนาคำ หมู่ที่ 5

        บ้านนาคำ หมู่ 5 ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราๆม จังหวัดนครพนม  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441 โดยนายบุญเทียม  ป้องท้อง  นายยกยอ ขัติวงค์  และนางสีดา  ป้องทอง  ได้ย้ายมาจากตำบลนาเดื่อ  อำเภอศรีสงคราม  ในสมัยนั้นมี  10  หลังคาเรือนและได้ตั้งชื่อว่า “บ้านกระแตเลาะ” จากปากของคนเฒ่าคนแก่สันนิษฐานว่า  เนื่องจากในสมัยนั้นถิ่นนี้เป็นที่อาศัยของสัตว์จำพวกกระรอก  กระแตเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อนี้  ต่อมาเปลี่ยนชื่อบ้านใหม่เป็น “บ้านนาคำ” ซึ่งคำว่า นา หมายถึง ที่นา และคำว่าคำ หมายถึง ทองคำ  หมายถึง ที่นาที่มีทองคำ แต่ที่จริงแล้วเป็นการตั้งชื่อให้เป็นสิริมงคลเท่านั้น ซึ่งในตอนนั้นมีทั้งหมดชาวบ้าน 200 คน มีบ้านเรือน 70 หลังคา บ้านนาคำตั้งอยู่กลางของตำบล อยู่ห่างจากอำเภอศรีสงครามประมาณ 16 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครพนม  ประมาณ  47  กิโลเมตร ปัจจุบันมีถนนลาดยางจากสามแยกบ้านคำสะอาดถึงบ้านนาคำแล้วระยะทางประมาณ  5  กิโลเมตร ผู้บุกเบิกบ้านในระยะนั้นมีนายบุญเทียม  ป้องทอง  ย้ายมาจากบ้านนาแก ตำบลนาเดื่อ อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  นายสนธิ์  สุธรรม  ซึ่งเป็นคนถิ่นนี้ท่านเหล่านี้ได้เสียชีวิตไปเหลือเพียง นายสนธิ์  สุธรรม และบ้านนาคำได้มีการขยับขยายเรื่อยมาสามารถแยกจากตำบลนาเดื่อและเป็นสองหมู่บ้าน  จึงตั้งเป็นตำบล  เมื่อ พ.ศ. 2516 มีนายสนธิ์ สุธรรม เป็นกำนันคนแรกและต่อมามีนายบุญมา ป้องทอง เป็นกำนันคนต่อไป สำหรับกำนันผู้ใหญ่บ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  มี  ดังนี้  คือ

 

         1.  นายสีดา  ป้องทอง         ผู้ใหญ่บ้านคนแรก        พ.ศ.  ไม่ทราบแน่นอน

         2.  นายบู่  ไกลเทียม           ผู้ใหญ่บ้าน                   พ.ศ.  ไม่ทราบแน่นอน

         3.  นายสนธิ์  สุธรรม            กำนัน                          พ.ศ.  2516  – 2520 (4ปี)

         4.  นายบุญมา  ป้องทอง      กำนัน                          พ.ศ.  2520 – 2536

         5.  นายสด  ป้องทอง           ผู้ใหญ่บ้าน                   พ.ศ.  2520 – 2532

         6.  นายสงวน  ป้องทอง       เป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  5 

         7.  นายศรีสุพันธ์  แก้วปีลา   เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5

         8.   นายไตรรงค์ ป้องทอง    ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5  

 

 อาณาเขตติดต่อ

        ทิศเหนือ         ติดกับแม่น้ำสงคราม

        ทิศใต้             ติดกับบ้านเหล่า     ตำบลนาคำ   อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  

        ทิศตะวันออก   ติดกับบ้านอุ่มไผ่   ตำบลนาคำ   อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  

        ทิศตะวันตก     ติดกับบ้านโพนก่อ ตำบลนาคำ   อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  

 

สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน

        วัดจอมแจ้งบ้านนาคำ  เลขที่  80  ต.นาคำ  อ.ศรีสงคราม  จ.นครพนม  เดิมหลวงปู่ตา  ได้มาบุกเบิกสร้างวัดเป็นรูปแรก  ได้สร้างโรงธรรมขนาดเล็กทำด้วยไม้ไผ่  ต่อมาพระทัน  (ไม่ทราบฉายา)  และหลวงพ่อสี  ป้องทอง  ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างโรงธรรมขึ้นใหม่แทนที่ชำรุดและกุฏิใหม่ขึ้นแต่ก็ยังมีขนาดเล็กอยู่และท่านได้มรณภาพลง  ต่อมามีหลวงปู่กวบ ป้องทอง และหลวงพ่อจันทร์ ป้องทอง หลวงพ่อโก้  โกสุโท ได้ร่วมกับนายสนธิ์  สุธรรม  ก่อสร้างกุฏิ  ๒ หลัง และสร้างโรงธรรมใหม่  ต่อมาหลวงปู่กวบ  ป้องทอง ได้ลาสิกขาบท  หลวงพ่อจันทร์ป้องทอง และหลวงพ่อโก้  โกสุโก ได้มรณภาพ ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง หลวงพ่อสัตย์ นิที ได้เป็นเจ้าอาวาสแทน ต่อมาท่านได้ลาสิกขา  มีเจ้าอาวาสรูปใหม่ชื่อหลวงพ่อกง  เขมาสโย เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่วัดจอมแจ้งมากมาย ผลงานที่ท่านฝากไว้มีดังนี้  พ.ศ.  2524  พาชาวบ้านนาคำสร้างกุฏิเสาดิน  พื้นฝาทำด้วยไม้  หลังคามุงสังกะสีขึ้น  จำนวนหนึ่งหลัง

 

อาชีพของราษฎร

        อาชีพของชาวบ้านนาคำ  เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและติดกับแม่น้ำสงคราม ถึงฤดูฝนน้ำจะท่วมที่นาทั้งหมดผลผลิตทางการทำนาจึงไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร  อาชีพที่ชาวบ้านทำคือ  เพาะปลูกเมล็ดกล้าหญ้าพันธุ์ขาย  อายุการเพาะปลูก  3  เดือน  ผลผลิตกิโลกรัมละ 1 พันบาท  อีกอาชีพที่ทำคือ การทำสวนยางพารา  ซึ่งส่วนใหญ่กำลังปลูกได้ประมาณ 5-6 ปี ยังไม่ได้กรีด

 

1. ทุนบุคคลและครอบครัว

  บ้านเหล่า หมู่ที่ 5 1. นาย ไตรรงค์ ป้องทอง เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีความเชี่ยวชาญด้านการช่วยเหลือชาวบ้านรับเรื่องร้องทุกข์ของชาวบ้าน ประสานงานต่างๆ กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยชาวบ้าน 2. นายศักดิ์-สิทธ์ ป้องทอง  เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3. นางมณีจันทร์ สมรฤทธิ์ ประธาน อสม. ดูแลประสานงานด้านเรื่องสุขภาพให้กับชุมชน 4. นางเขื่อนทอง สมรฤทธิ์ มีบทบาททางด้านสตรี 5. นายสิทธิเดช สมรฤทธิ์ เป็นผู้นำเกษตรของตำบลเชี่ยวชาญด้านทางการเกษตร 6. นางบัวเรียน คัณทักษ์  มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา

สอนเด็กนักเรียน เย็บปักถักร้อย ทำอาหารแปรรูป เช่นทำส้มหมู ส้มปลา 7. นายนำไชย์ ไกลเทียม มีความเชี่ยวชาญการเมืองการปกครอง และการเลี้ยงไก่ชน 8. นายจวน นิที ประธานกลุ่มผู้สูงอายุบ้านนาคำ มีความเชี่ยวชาญทางด้านผู้นำศาสนา บายศรีสู่ขวัญ 9. นายอุทัย ไกลเทียม เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพร ด้านรักษาโรคทั่วไป 10. นายอวน นิที มีความเชี่ยวชาญด้านการทำไม้กวาดทางมะพร้าว 11.นายพนัช ป้องทองเป็นสมาชิกเทศบาลตำบลนาคำ และมีความเชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครอง

 

2. ทุนระดับกลุ่มและองค์กรชุมชน

       1. กลุ่มยางพารา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2559 ประธานกลุ่ม คือ นายไตรรงค์ ป้องทอง มีสมาชิกทั้งหมด 80 คน สาเหตุที่ก่อตั้งกลุ่มไม่มีที่ขายยางพาราและเพื่อจะได้ต่อรองพ่อค้ากลาง งบประมาณเริ่มแรกได้มาจาก สกย. 30,000 บาท การจัดสวัสดิการของกลุ่ม สมาชิก คือแบ่งบันหุ้นร้อยละ 10 ของผลกำไร

      2. ชมรมผู้สูงอายุ ก่อตั้งเมื่อปี 3 ปี ประธานกลุ่ม นายจวน นิที มีคณะกรรมการ 8 คน สมาชิกทั้งหมด 306 คน สาเหตุที่ก่อตั้ง ได้รับนโยบายจากภาครัฐบาล และได้เงินสนับสนุนจากเทศบาลตำบลนาคำ กิจกรรมเด่น เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุ สร้างสรรค์ประโยชน์

แก่ชุมชนและสังคม

 

3. หน่วยงานและแหล่งประโยชน์

  บ้านนาคำ หมู่ที่ 5 มีหน่วยงานและแหล่งประโยชน์ตามธรรมชาติมีลำห้วยหนองคลองบึงเล็กๆแต่ก็จะแห้งหมดในช่วงฤดูแล้งประชาชนใช้น้ำในการอุปโภค บริโภคจากน้ำประปาเทศบาลตำบลนาคำบ้านนาคำ หมู่ที่ 5 มีทรัพยากรในพื้นที่จำนวน 12 แหล่งดังนี้

 

  (1) สำนักงานเทศบาลตำบลนาคำ ช่วยเหลือประชาชนที่มาติดต่อทางราชการ

  (2) โรงเรียนนาคำราษฎร์รังสรรค์ ให้ความรู้แก่นักเรียนและเป็นโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน จากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

  (3) รพ.สต.นาคำ ดูแดผู้ป่วยเบื้องต้นและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ภายในตำบลนาคำ

  (4) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจอมแจ้ง พัฒนาคุณภาพเด็กก่อนเกณฑ์ 2-4 ปี จัดการเรียนการสอนเบื้องต้น

  (5) ดอนปู่ตา  เป็นสถานที่เคารพนับถือของคนในชุมชน

  (6) ป่าช้า  สถานที่ที่จัดไว้สำหรับเก็บ ฝัง หรือเผาศพ

  (7) หนองบัวใหญ่ เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน

  (8) หนองแขมช้าง  เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน หาปลา ทำการเกษตร

  (9) หนองแวง  เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน หาปลา ทำการเกษตร

  (10) หนองหมากจับ  เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน หาปลา ทำการเกษตร

  (11) สระ สาธารณะ  เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน หาปลา ทำการเกษตร

  (12) หนองสักขี้ เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน หาปลา ทำการเกษตร

 

4. ทุนระดับหมู่บ้าน

บ้านนาคำ หมู่ที่ 5 มีจำนวนประชากร  679  คน 149 ครัวเรือน  วิถีชีวิตส่วนมากจะทำการเกษตร 

ทำนา กรีดยางพารา  หาเลี้ยงชีพด้วยแนวทางเกษตรกรรมส่วนใหญ่ ทำให้การรวมกลุ่มจะเป็นไปตามแนวทาง

ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลจึงมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจำนวน 5 กลุ่ม คือ

    (1) กลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน  มีการจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารงานคอยให้ความช่วยเหลือและเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงาน ในการบริหารเงินกลุ่ม โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้น ๗  คน เก็บครัวเรือนละ 100  บาท  ผู้ได้รับประโยชน์ ญาติสมาชิกกลุ่ม ญาติสมาชิกกลุ่มในชุมชนได้มีเงินหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว แบ่งเบาภาระในการใช้จ่าย

    (2) กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)โดยให้สมาชิกกองทุนและกลุ่มกู้ยืมเงินไปลงทุนในการประกอบอาชีพและส่งเงินทุนคืนในรอบปี มีคณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านเอง

    (3) กลุ่มสตรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2557 ประธานกลุ่มนางเขื่องทอง สมรฤทธิ์ โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้น  4  คน  มีสมาชิกทั้งหมด  30 คน คณะกรรมการและสมาชิกภายในกลุ่มจะคอยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เป็นจิตอาสาคอยให้ความช่วยการจัดกิจกรรมภายในชุมชนผู้ได้รับประโยชน์คนในชุมชนในหมู่บ้านจะได้รับความช่วยเหลือในการกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน  เช่น งานออกพรรษาเข้าพรรษางานบุญต่าง ๆ เป็นต้น

    (4) กลุ่ม อสม. มีนางมณีจันทร์ สมรฤทธิ์ เป็นประธานมีคณะกรรมการ  3 คนและสมาชิก 15 คน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน  เช่น  ให้แต่ละครัวเรือนช่วยกันกำจัดทำลายลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน

มีการวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกันในทุกภาคส่วนของคนในชุมชนและแกนนำ มีการร่วมคิด ร่วมทำ

ร่วมวางแผน  ร่วมปฏิบัติ  และร่วมกิจกรรม  ติดตามประเมินผลกิจกรรม  มีระบบการรายงานผลการปฏิบัติงาน  การควบคุมโรคส่งต่อไปยัง  รพ.สต.บ้านเหล่า ชุมชนบ้านดอนแดงไม่เกิดโรคไข้เลือดออกและชุมชนเข้มแข็งมีสุขภาพ

    (5) กลุ่มกองทุนขยะหมู่บ้าน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2560 ประธานกลุ่มนายไตรรงค์ ป้องทอง 

มีคณะกรรมการ 5 คน และสมาชิกทั้งหมด 17 คนสาเหตุที่ก่อตั้ง ได้รับนโยบายจากภาครัฐบาล และได้เงินสนับสนุนจากเทศบาลตำบลนาคำ 5,000 บาท วิธีดำเนินงานและกิจกรรมกลุ่ม ชื้อขยะมาแล้วคัดแยกขยะ, ขาย 1 ครั้งได้กำไร 1,000 บาท เก็บไว้เป็นทุนหมุนเวียน

 

5. ทุนระดับตำบล

    (1) โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นแหล่งบริหารจัดการสุขภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของผู้สูงอายุในตำบลโดยหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

    (2) ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยในชุมชน(ศูนย์ฮักแพงแบ่งปัน) การมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชุมชนเทศบาลตำบลนาคำ

 

        

ประวัติของหมู่บ้านนาคำ หมู่ 11

 

        บ้านนาคำ หมู่ 11 ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2441  โดยนายบุญเทียม  ป้องท้อง นายยกยอ ขัติวงค์  และนางสีดา ป้องทอง  ได้ย้ายมาจากตำบลนาเดื่อ อำเภอศรีสงคราม  ในสมัยนั้นมี  10  หลังคาเรือนและได้ตั้งชื่อว่า “บ้านกระแตเลาะ” จากปากของคนเฒ่าคนแก่สันนิษฐานว่า  เนื่องจากในสมัยนั้นถิ่นนี้เป็นที่อาศัยของสัตว์จำพวกกระรอก กระแตเป็นจำนวนมาก  จึงตั้งชื่อนี้  ต่อมาเปลี่ยนชื่อบ้านใหม่เป็น “บ้านนาคำ”  ซึ่งคำว่า  นา  หมายถึง ที่นา  และคำว่า  คำ หมายถึง ทองคำหมายถึง  ที่นาที่มีทองคำ  แต่ที่จริงแล้วเป็นการตั้งชื่อให้เป็นสิริมงคลเท่านั้น  ซึ่งในตอนนั้นมีชาวบ้านทั้งหมด200  คน  มีบ้านเรือน 70 หลังคา บ้านนาคำ ตั้งอยู่กลางของตำบล อยู่ห่างจากอำเภอศรีสงครามประมาณ16  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดนครพนม  ประมาณ  57  กิโลเมตร  ปัจจุบันมีถนนลาดยางจากสามแยกบ้านคำสะอาดถึงบ้านนาคำแล้วระยะทางประมาณ  5  กิโลเมตร

      ผู้บุกเบิกบ้านในระยะนั้นมีนายบุญเทียม  ป้องทอง  ย้ายมาจากบ้านนาแก ตำบลนาเดื่อ  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  นายสนธิ์  สุธรรม  ซึ่งเป็นคนถิ่นนี้ท่านเหล่านี้ได้เสียชีวิตไปเหลือเพียง นายสนธิ์  สุธรรมและบ้านนาคำ  ได้มีการขยับขยายเรื่อยมาสามารถแยกจากตำบลนาเดื่อและเป็นสองหมู่บ้าน จึงตั้งเป็นตำบล  เมื่อ พ.ศ.  2516 มีนายสนธิ์ สุธรรม เป็นกำนันคนแรกและต่อมามีนายบุญมา ป้องทอง เป็นกำนันคนต่อไป  สำหรับกำนันผู้ใหญ่บ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  มีดังนี้  คือ

           1.  นายสีดา  ป้องทอง       ผู้ใหญ่บ้านคนแรก  พ.ศ.  ไม่ทราบแน่นอน
           2.  นายบู่  โกยเทียม          ผู้ใหญ่บ้าน            พ.ศ.  ไม่ทราบแน่นอน
           3.  นายสนธิ์  สุธรรม           กำนัน                   พ.ศ.  2516 – 2520 (4 ปี)
           4.  นายบุญมา  ป้องทอง     กำนัน                   พ.ศ.  2520-2536
           5.  นายสด  ป้องทอง          ผู้ใหญ่บ้าน            พ.ศ.  2527-2532
           6.  นายอนุวัตร์ ขัติวงค์        ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11  
           7.  นายธนากร ขัติวงค์         ผู้ใหญ่บ้านหมู่่ที่  11 ปัจจุบัน

 อาณาเขตติดต่อ

          ทิศเหนือ  ติดกับแม่น้ำสงคราม
          ทิศใต้  ติดกับบ้านเหล่า
          ทิศตะวันออก  ติดกับบ้านอุ่มไผ่
          ทิศตะวันตก  ติดกับบ้านโพนก่อ

 สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน

          วัดจอมแจ้งบ้านนาคำ  เลขที่  80  ต.นาคำ  อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม  เดิมหลวงปู่ตา ได้มาบุกเบิกสร้างวัดเป็นรูปแรก ได้สร้างโรงธรรมขนาดเล็กทำด้วยไม้ไผ่  ต่อมาพระทัน (ไม่ทราบฉายา) และหลวงพ่อสี ป้องทอง  ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างโรงธรรมขึ้นใหม่แทนที่ชำรุดและกุฏิใหม่ขึ้นแต่ก็ยังมีขนาดเล็กอยู่และท่านได้มรณภาพลง  ต่อมามีหลวงปู่กวบ ป้องทอง และหลวงพ่อจันทร์ ป้องทอง หลวงพ่อโก้ โกสุโท  ได้ร่วมกับนายสนธิ์  สุธรรม ก่อสร้างกุฏิ 2 หลัง  และสร้างโรงธรรมใหม่  ต่อมาหลวงปู่กวบ  ป้องทอง  ได้ลาสิกขาบท หลวงพ่อจันทร์ป้องทอง  และหลวงพ่อโก้  โกสุโก  ได้มรณภาพ ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสสว่างลง หลวงพ่อสัตย์  นิที  ได้เป็นเจ้าอาวาสแทน  ต่อมาท่านได้ลาสิกขา มีเจ้าอาวาสรูปใหม่ชื่อหลวงพ่อกง  เขมาสโย  เป็นเจ้าอาวาส  ท่านได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่วัดจอมแจ้งมากมาย ผลงานที่ท่านฝากไว้มีดังนี้  พ.ศ. 2524 พาชาวบ้านนาคำสร้างกุฏิเสาดิน พื้นฝาทำด้วยไม้ หลังคามุงสังกะสีขึ้น จำนวนหนึ่งหลัง

 อาชีพของราษฎร

         อาชีพของชาวบ้านนาคำ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและติดกับแม่น้ำสงครามถึงฤดูฝนน้ำจะท่วมที่นาทั้งหมดผลผลิตทางการทำนาจึงไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร อาชีพที่ชาวบ้านทำคือ เพาะปลูกเมล็ดกล้าหญ้าพันธุ์ขาย อายุการเพาะปลูก 3 เดือน ผลผลิตกิโลกรัมละ 1 พันบาท อีกอาชีพที่ทำคือ การทำสวนยางพารา  ซึ่งส่วนใหญ่กำลังปลูกได้ประมาณ 5-6  ปี ยังไม่ได้กรีด

1. ทุนบุคคลและครอบครัว

        บ้านนาคำ หมู่ที่ 11  1. นายอนุวัตร ขัติวงค์  เป็นผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเหลือชาวบ้านรับเรื่องร้องทุกข์ของชาวบ้าน ประสานงานต่างๆ กับหน่วยงานต่างๆ 2. นายทัด นิที มีความสามารถเชี่ยวชาญด้านปกครองท้องถิ่นประสานงาน 3. นายแสงทิพย์ ป้องทอง มีความเชี่ยวชาญช่วยเหลือชุมชนในหมู่บ้าน/อาสาสมัคร 4. นายโอภาส ศิริวงค์ มีความเชี่ยวชาญการเมืองการปกครองที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลนาคำ 5. นายไฉน ขัติวงค์ เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลนาคำ 6. นายทวีศักดิ์ คัณทักษ์ เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลนาคำ  7. นายโสภณ สุธรรม มีความเชี่ยวชาญด้านสอนหนังสือ(เป็นครู) 8. นางจุฑามาศ ยอดสะอื เป็นครูสอน (ภาษาไทย) 9. ด.ต ประจักษ์ ยอดสะอื มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเป็นตำรวจ 10. นายฤทธิรงค์ สมรฤทธิ์เป็นตำรวจ มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 11. นายผง ขัติวงค์  มีความเชี่ยวชาญด้านดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยผู้สูงอายุ และเป็นอสม. 12.นายอุดม ขัติวงค์  เป็นปราชญ์ชาวบ้าน มีความเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนไทย 13. นายสัตย์ นิที เป็นปราชญ์ชาวบ้าน มีความเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนไทย และเป็นหมอเปา 14. นางสีนวล ขัติวงค์  มีความเชี่ยวชาญด้านดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยผู้สูงอายุ และเป็นอสม. 15. นางนิศารัตน์ รังศรีเป็นครู (ภาษาไทย หัตถกรรม) มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนและมีความรู้เย็บใบตอง 16. นายบุญเลิส สีโยเป็นครู(คณิตศาสตร์) 17. นางศิวาพร สีโย เป็นครู(คณิตศาสตร์) 18. นางวงค์จันทร์ สมรฤทธิ์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีความเชี่ยวชาญด้านการทำอาหารและจัดงานเลี้ยง  19. นายภากร ขัติวงค์ มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเกษตร ปลูกแตงโม 20. นางสาวพรทิวา ภาบุตร เป็นครู(วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์) 21.นางนงนุช สมรฤทธิ์ เป็นครู (คณิตศาสตร์) 22.นางรัตติยา สุธรรม เป็นครู(วิทยาศาสตร์ ทั่วไป) 23. นาย ทวีศักดิ์ สุธรรมเป็นครู(คอมพิวเตอร์) 24.นายอนันธิศักดิ์ ผลบุญ เป็นปลัดอำเภอศรีสงคราม มีความเชี่ยวชาญทางด้าน กฎหมาย การเมืองการปกครอง 25.นางศรีแพ ผลบุญเป็นครู(คณิตศาสตร์) 26.นางสาวประภาพร ควรครู เป็นครู (เด็กปฐมวัย)

1. ทุนระดับกลุ่มและองค์กรชุมชน

         1. กลุ่มเลี้ยงโค-กระบือ ประธานนางณัฐธวรรณ บัวพินธุ มีคณะกรรมการทั้งสิ้นจำนวน 3  คน มีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 7 คน คณะกรรมการและสมาชิกภายในกลุ่มระดมทุน คนละ 1,000 บาท และกู้ยืมเงินทุนเศรษฐกิจชุมชน ทื่ ธกส.จำนวน 70,000 บาท เพื่อซื้ออาหารสัตว์และเก็บไว้ซ่อมแซมโรงเรือน นำผลกำไรที่ได้ส่งคืน ธกส. และปันผลกำไรคืนให้สมาชิกภายในกลุ่ม 

          2. กลุ่มกองทุนปุ๋ย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2553 ประธานกลุ่ม คือ นายอนุวัตร ขัติวงค์ มีสมาชิกทั้งหมด 60 คน สาเหตุที่ก่อตั้งกลุ่ม เพราะอยากทำปุ๋ยใช้เอง เพื่อลดต้นทุนในการทำเกษตรงบประมาณเริ่มแรกได้มาจากเทศบาลตำบลนาคำ อุดหนุน 300,000 บาท กิจกรรมกลุ่มเด่น ให้สมาชิกกลุ่มนำมูลสัตว์รวมกันทำ,ส่วนที่เหลือขายเพื่อนำทุนมาสานต่อโครงการ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน  คือ ธนาคาร ธกส. และเทศบาลตำบลนาคำ

2. หน่วยงานและแหล่งประโยชน์

บ้านนาคำ หมู่ที่ 11 มีหน่วยงานและแหล่งประโยชน์ตามธรรมชาติมีลำห้วยหนองคลองบึงเล็กๆ แต่ก็จะแห้งหมดในช่วงฤดูแล้งประชาชนใช้น้ำในการอุปโภค บริโภคจากน้ำประปาเทศบาลตำบลนาคำ  หมู่ที่ 11 มีทรัพยากรในพื้นที่จำนวน 7 แหล่งดังนี้

        (1) โรงเรียนบ้านนาคำ ให้ความรู้ด้านการการศึกษา

        (2) โคกอีศรี  เป็นป่าสาธารณะที่ใช้ร่วมกันในชุมชน ในการหาอาหารของป่าเช่นเห็ด ผัก 

        (3) หนองสนม เป็นน้ำสาธารณะที่ใช้ร่วมกันในชุมชน ในการหาปลาและเพื่อการทำเกษตร

        (4) วัดป่าแสงติธรรม เป็นสถานที่ศูนย์รวมจิตใจของชุมชน

        (5) หนองบัวน้อย  เป็นน้ำสาธารณะที่ใช้ร่วมกันในชุมชน ในการหาปลาและเพื่อการทำเกษตร

        (6) อ่างเก็บน้ำสายหนองบัว เป็นน้ำสาธารณะที่ใช้ร่วมกันในชุมชน ในการหาปลาและเพื่อการทำเกษตร

        (7) น้ำสงครามเป็นน้ำสาธารณะที่ใช้ร่วมกันในชุมชน ในการหาปลาและเพื่อการทำเกษตร

3. ทุนระดับหมู่บ้าน

         บ้านนาคำ หมู่ที่ ๑๑ มีจำนวนประชากร จำนวน  922 คน  226 ครัวเรือน วิถีชีวิตส่วนมากจะทำการเกษตร ทำนา หาเลี้ยงชีพด้วยแนวทางเกษตรกรรมส่วนใหญ่ ทำให้การรวมกลุ่มจะเป็นไปตามแนวทาง

ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลจึงมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจำนวน 6 กลุ่มคือ

        1. กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)โดยให้สมาชิกกองทุนและกลุ่มกู้ยืมเงินไปลงทุนในการประกอบอาชีพและส่งเงินทุนคืนในรอบปี มีคณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านเอง

        2. กลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน มีการจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารงานคอยให้ความช่วยเหลือและเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงาน ในการบริหารเงินกลุ่ม โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้น ๗ คน เก็บครัวเรือนละ 100  บาท  ผู้ได้รับประโยชน์ ญาติสมาชิกกลุ่ม ญาติสมาชิกกลุ่มในชุมชนได้มีเงินหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว แบ่งเบาภาระในการใช้จ่าย

        3. กลุ่มกองทุนขยะหมู่บ้านก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2560 ประธานกลุ่มนายอนุวัตร ขัติวงค์ มีคณะกรรมการ 5 คน และสมาชิกทั้งหมด 15 คน สาเหตุที่ก่อตั้ง ได้รับนโยบายจากภาครัฐบาล และได้เงินสนับสนุนจากเทศบาลตำบลนาคำ 5,000 บาท วิธีดำเนินงานและกิจกรรมกลุ่ม ชื้อขยะมาแล้วคัดแยกขยะ , ขาย 1 ครั้ง ได้กำไร 1,000 บาท เก็บไว้เป็นทุนหมุนเวียน

        4. กลุ่มอสม. มีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 14 คน ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2534 ประธานกลุ่มคือนายผง ขัติวงค์ รองประธาน คือ นางมยุรี ขัติวงค์ กรรมการ คือ นางนงรักษ์ สุธรรม นางสีนวล ขัติวงค์ นางวาสนา โคทังคะ นางสมบูรณ์ สมรฤทธิ์ 600  บาทต่อคน/เดือน กิจกรรมเด่น  คือ  ตรวจสุขภาพ  คัดกรองโรค ป้องกันโรค จัดทำเป็นกลุ่มส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเต้นแอโรบิคหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเทศบาลตำบลนาคำ

        5. กลุ่ม กขคจ. ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2542 ประธานกลุ่มนายอนุวัตร ขัติวงค์ โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้น  10 คน  มีสมาชิกทั้งหมด 80 คน สาเหตุที่ก่อตั้งกลุ่ม ความอยากจนในภายในชุมชนและหาอาชีพเสริม งบประมาณเริ่มแรกได้มาจากรัฐบาล 280,000 บาท กิจกรรมกลุ่มเด่น ปล่อยกู้เงินให้แก่สมาชิก และการออม

        6. กลุ่มสตรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2554 โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางประพิน สุธรรม มีคณะกรรมการทั้งสิ้น 5 คน  มีสมาชิกทั้งหมด 15 คน คณะกรรมการและสมาชิกภายในกลุ่มจะคอยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นจิตอาสาคอยให้ความช่วยการจัดกิจกรรมภายในชุมชนผู้ได้รับประโยชน์คนในชุมชนในหมู่บ้าน  จะได้รับความช่วยเหลือในการกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน  เช่น งานออกพรรษาเข้าพรรษา งานบุญต่าง ๆ เป็นต้น 

gallery


แตงโมหวานขึ้นชื่อ เลื่องลือลิงป่า ไทญ้อทรงคุณค่า ยางพาราเขียวขจี ข้าวปลามากมี ถิ่นนี้คือนาคำ

181 หมู่ 5 ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม 48150


โทรศัพท์ : (สำนักปลัด) 042-190234 (กองคลัง) : 042-190285

sarabun@nakam.go.th

© 2024 All rights Reserved.  พัฒนาเว็บไซต์โดย  WWW.PHUDESIGN.COM