แตงโมหวานขึ้นชื่อ เลื่องลือลิงป่า ไทญ้อทรงคุณค่า ยางพาราเขียวขจี ข้าวปลามากมี ถิ่นนี้คือนาคำ

Nakam Subdistrict Municipality.

โทรศัพท์ : (สำนักปลัด) 042-190234 (กองคลัง) : 042-190285

บ้านอุ่มไผ่


ผู้เขียน: administrator admin , วันที่: 6 ก.พ. 2567
48, หมวดหมู่:ข้อมูลหมู่บ้าน

ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลบุคลากร

แผนพัฒนาท้องถิ่น

แผน ปปท./ควบคุมภายใน/ตรวจสอบภายใน

งานกิจการสภา

การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ

 

ประวัติของหมู่บ้านอุ่มไผ่

 

  บ้านอุ่มไผ่  หมู่ที่  3  ตำบลนาคำ  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  เดิมในบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเคยเป็นป่าไผ่ทึบ  หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า  “ ไม้ไผ่กะซะ ” อยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำสงครามเป็นบริเวณที่ยังไม่มีกลุ่มชนใดอาศัยอยู่เลย  ประมาณ  180  ปี  ให้หลังที่หมู่บ้านคำทาก  ได้เกิดโรคระบาด  คือ  โรคคุดทะราด  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  โรคขี้ทูด  ซึ่งเมื่อก่อนยังไม่มียารักษา จึงเกิดการติดต่อกันได้ง่าย  ชาวบ้านจึงได้พากับอพยพหนีไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น  โดยแยกออกเป็น  2  กลุ่มได้ดังนี้

 

  กลุ่มที่  1  โดยเป็นกลุ่มของนายการี  พร้อมกับชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านดอนมะจ่าง  ตำบลบ้านข่า  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  ในปัจจุบัน

  กลุ่มที่  2  เป็นกลุ่มครอบครัวของนายแสง  นายสาน  นายสิม  คำสวัสดิ์ พร้อมกับชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งได้พากันอพยพตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ตั้งของบ้านอุ่มไผ่  ในปัจจุบัน  หลังจากนั้นหมู่บ้านแห่งนี้ก็ได้มีชาวบ้านจากถิ่นอื่นๆ  อพยพเข้ามาเพิ่มเติมมากขึ้น  เนื่องจากที่ตั้งของหมู่บ้านมีป่าไม้ไผ่จำนวนมาก  ดังนั้น  ชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่น  จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า  “บ้านอุ่มไผ่”  และได้ตั้งชื่อเป็นชื่อหมู่บ้านมาจนถึงทุกวันนี้
  การสร้างบ้านในยุคแรกยังเป็นลักษณะกระต๊อบ  หลังคงมุงด้วยหญ้าคา  ฝาบ้านทำจากไม้ไผ่สานลักษณะตัวบ้านมีใต้ถุน  ไม่นิยมตกแต่งบ้าน  เส้นทางการติดต่อกับชุมชนภายนอก   ในอดีตการติดต่อกับชุมชนภายนอกเป็นไปด้วยความยากลำบาก  เส้นทางการติดต่อมี  3  เส้นทาง  คือ  เส้นทางที่หนึ่ง  เป็นเกรียนตัดออกสู่บ้านภูกระแตสู่เส้นทางใหญ่ในการเดินไปอีกหลาย ๆ  บ้าน  เส้นทางที่สอง  คือทางน้ำในการติดต่อกับบ้านหาดกวนหรือล่องเรือตามลำน้ำสงคราม  เส้นทางที่สาม  เดินลัดเลาะป่าทางทิศตะวันออกในการติดต่อกับบ้านท่าแต  ปัจจุบันการพัฒนาเส้นทางจากเส้นทางที่เป็นทางเกวียน  ให้เป็นทางคอนกรีตแล้วและมีสะพานข้ามลำน้ำสงครามที่บ้านหาดกวน – อุ่มไผ่

 

 

การติดต่อกับหมู่บ้านอื่นๆ  ของชาวอุ่มไผ่

 

  บ้านอุ่มไผ่  เป็นหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยป่าไม้  โดยเฉพาะบริเวณด้านทิศตะวันออกหมู่บ้าน  ชาวบ้านเรียกว่า  ดงพระนางบริเวณอีกด้านหนึ่งเป็นป่าทามปกคลุมด้วยป่าไม้ติดกับแม่น้ำสงครามและลำห้วยตูม  ผลิตผลจากป่าทามที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือหน่อไม้โดยจะออกหน่อตลอดปี  หน่อไม้เป็นอาหารหลักในหมู่บ้านและเป็นสินค้าส่งออกของชาวบ้านในการค้าขายโดยส่งไปขายที่ตัวอำเภอหรือหมู่บ้านใกล้เคียง  ส่วนใหญ่ใช้เป็นของฝากถึงญาติพี่น้องในการไปมาหาสู่กัน

  ห้วยตูมและแม่น้ำสงครามเป็นแหล่งจับปลาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวบ้าน  แต่การจับปลา  เป็นลักษณะทำเพื่อยังชีพ  ปลาที่จับได้นอกเหนือจากการบริโภค  จะทำปลาร้า  หมักเกลือตากแห้ง  เพื่อใช้กินในวันต่อๆไป  ในอดีตชาวบ้านมักจะประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม  การทำนาในแต่ละปีจะได้ข้าวหรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับน้ำ  ปริมาณน้ำมากเกินก็คือน้ำท่วม  การทำนาก็ไม่ได้ข้าวซึ่งในแต่ละปีนั้นน้ำจะท่วมที่นา  คิดเป็นเปอร์เซ็นร้อยละ  60 – 70  %  บางคนอาศัยว่ามีนามากประกอบกับดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ  เรื่องการใช้ปุ๋ยจึงแทบจะไม่ได้ใช้ผลผลิตจากข้าวจึงได้พอเพียงกับการบริโภคในแต่ละปี  บางทีโชคร้ายน้ำท่วมที่นาหมดหรือไม่ก็ท่วมสองปีซ้อน  เมื่อการทำนาไม่ได้ข้าว  ความเดือดร้อนที่ไม่มีข้าวกินจึงต้องดิ้นรนหาข้าว  กับอีกหมู่บ้านหนึ่งที่มีนา  เป็นที่ดอนไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม  การหาข้าวเป็นในลักษณะแลกเปลี่ยน  มากกว่าการซื้อขาย  สาเหตุเนื่องจากการที่ไม่มีรายได้  สิ่งที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนมักจะเป็นผลิตผลในหมู่บ้านที่ชาวบ้านหาได้จากป่าทาม  เช่น  หน่อไม้  ผักป่า  เห็ด  ส่วนใหญ่มักจะหาปลาที่ได้จากลำน้ำสงครามและห้วยตูม  จากที่ได้ทำเป็นปลาตากแห้ง  ปลาร้าน  ในการแลกเปลี่ยนข้าวที่ชาวบ้านเรียกกันว่า   การขอข้าวจากญาติพี่น้อง  จากที่อยู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง  บ้านที่นิยมไปกันคือบ้านใต้  เป็นหมู่บ้านในเขตอำเภอ  ท่าอุเทน

 

อาชีพของชาวบ้าน

 

  บ้านอุ่มไผ่  ประชากรส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรมโดยการทำนา  ทำไร่  มันสำปะหลัง  หาปลา  รายได้ในแต่ละปีจะมากน้อยขึ้นอยู่กับราคาทางการเกษตร  ชาวบ้านจะอาศัยลำน้ำตูมและแม่น้ำสงครามในฤดูแล้งทำนาปรัง  ปลูกผักสวนครัว  ปลูกพริก ฯลฯ

 

 

อัพเดทข้อมูลปัจจุบัน  (มกราคม  2558)

  นายวิชัย วรโยธา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 080-7570688

gallery


แตงโมหวานขึ้นชื่อ เลื่องลือลิงป่า ไทญ้อทรงคุณค่า ยางพาราเขียวขจี ข้าวปลามากมี ถิ่นนี้คือนาคำ

181 หมู่ 5 ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม 48150


โทรศัพท์ : (สำนักปลัด) 042-190234 (กองคลัง) : 042-190285

sarabun@nakam.go.th

© 2024 All rights Reserved.  พัฒนาเว็บไซต์โดย  WWW.PHUDESIGN.COM